ออฟฟิศ ซินโดรม คืออะไร

รักษาอย่างไร อันตรายหรือไม่ !!

 
 

 

ยุคสมัยนี้ ที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ ภาระงานที่ต้องแข่งกับเวลาที่จำกัด ทำให้ต้องใช้เวลาในการทำงานที่มากขึ้น ต้องนั่งนานๆ ติดต่อกันหลายๆ ชั่วโมง นั่งท่าเดิมๆ ไม่ค่อยมีเวลาออกไปเดิน ยืดเส้น ยืดสาย บางครั้งยังต้องพักเบรค ทานข้าวที่โต๊ะทำงานด้วยซ้ำไป

ด้วยภาวะทเหล่านี้ ก่อให้เกิดโรคทางกล้ามเนื้อชนิดหนึ่งที่เกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่ง หรือ อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งในเวลานานๆ นั่นก็คือ โรคออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) นั่นเองครับ โดยอาการของ ออฟฟิศซินโดรม เริ่มแรกคือ รู้สึกปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ สะบัก และบริเวณหลัง การนวดอาจจะช่วยให้ดีขึ้นได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆช่วยแรก แต่ผ่านไปสักระยะหนึ่งก็จะกลับมาเป็นอีก และเป็นเรื้อรัง มีอาการปวดที่เพิ่มมากขึ้น หากปล่อยทิ้งไว้ โดยไม่มาตรวจหาสาเหตุและทำการรักษา อาจเกิดโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่รุนแรง รวมถึงความบกพร่องของระบบประสาทขึ้นตามมาได้ครับ

บทความนี้จะพาเราเจาะลึกโรคยอดฮิตของคนทำงานโรคนี้ ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุ อาการ พร้อมแนวทางการรักษาอย่างถูกต้อง ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ตั้งแต่แนวทางปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมให้เหมาะสม การออกกำลังกาย ไปจนถึงการทำกายภาพบำบัดครับ

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด รวมถึงอาการปวดหรือชาจากอาการอักเสบจากเนื้อเยื่อและเอ็น มักเกิดขึ้นกับกลุ่มวัยทำงานที่ต้องนั่งทำงานในออฟฟิศหรือทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์และมือถือเป็นประจำต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จนทำให้เกิดความผิดปกติของระบบในร่างกายนั่นเองครับ

สาเหตุของ ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม มักเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ไม่ค่อยได้เปลี่ยนท่าทาง รวมถึงอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ดังนี้

นั่ง หรือ ยืนต่อเนื่องนานๆ เสี่ยงต่อโรค ออฟฟิศซินโดรม

นั่ง หรือ ยืนต่อเนื่องนานๆ

สาเหตุหลักของ ออฟฟิศซินโดรม มักเกิดจาก การทำกิจกรรมใด กิจกรรมหนึ่งซ้ำๆ ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน เช่น ยืนต่อนื่องนานๆ หรือ นั่งต่อเนื่องนานๆ โดยไม่ได้เปลี่ยนท่าทาง โดยมักนานเกินกว่า 1 ชั่วโมง หรือ เปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่น เป็นต้น

โต๊ะ เก้าอี้ ไม่เหมาะสม เสี่ยง ออฟฟิศซินโดรม

สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม

เช่น โต๊ะ หรือ เก้าอี้ทำงาน มีความสูงที่ไม่เหมาะสม ต่ำ หรือ สูงเกินไป ทำให้ส่งผลต่อท่าทางที่ไม่เหมาะสมของร่างกาย ส่งผลต่อการหดเกร็งของมัดกล้ามเนื้อ และส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพอีกด้วยครับ

เครียด นอนไม่พอ สาเหตุออฟฟิศซินโดรม

สภาพร่างกายที่ไม่เหมาะสม

เช่น ความเครียดที่มากเกินไป การนอนหลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งสภาพเหล่านี้ ส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อของร่างกาย เกิดการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ และส่งผลเาียต่อการทำงานของร่างกายได้ครับ

อาการของ ออฟฟิศซินโดรม

1. ปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด เป็นกลุ่มอาการยอดฮิตของออฟฟิศซินโดรม โดยจะเริ่มจากมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบัก ส่วนหลัง และสะโพก และมักจะเป็นเรื้อรัง นวดคลายกล้ามเนื้อ หรือรักษาแล้วไม่หายขาด ถ้าไม่หยุดพฤติกรรมเสี่ยงต่อเนื่อง

2. เส้นประสาทที่ข้อมือถูกกดทับ ( Carpel Tunnel Syndrome) เกิดขึ้นจากมีพังผืดบริเวณข้อมือ (ด้านฝ่ามือ) ทำให้เส้นประสาทบริเวณนั้นถูกกดทับ เกิดอาการปวดและชาที่นิ้วมือ ฝ่ามือ หรือแขน

3. นิ้วล็อค ( Trigger Finger ) เกิดจากการออกแรงที่นิ้วมือมาก ๆ และบ่อยครั้ง  ทำให้เกิดการเสียดสีจนอักเสบบริเวณปลอกหุ้มเอ็น และเส้นเอ็นของนิ้วมือ มักพบอาการนี้ในกลุ่มคนที่ทำงานเป็นแม่บ้าน

4. เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ เกิดการบวมหรือเจ็บที่บริเวณเอ็นกล้ามเนื้อ มักเป็นบริเวณหัวไหล่ ข้อศอก ข้อเท้า เข่า และข้อมือ ซึ่งมักเกิดจากอุบัติเหตุ การกระแทก การใช้งานรุนแรง หรือการใช้งานที่บ่อยครั้งเกินไป ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดบริเวณที่มีอาการ

5. อาการตาแห้ง เกิดจากต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติ โดยผลิตน้ำตาที่นำมาหล่อเลี้ยงดวงตา ได้น้อยเกินไป โดยสาเหตุอาจมาจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือมือถือนานเกินไป

6. อาการปวดตา เนื่องจากจ้องหน้าจอหรือมือถือนานเกินไปโดยไม่ได้พักสายตา ซึ่งในหลาย ๆ ครั้ง อาการปวดตามักก่อให้เกิดอาการปวดหัวตามมาได้

7. อาการปวดหัว อาการปวดหัวจากออฟฟิศซินโดรม มักเกิดจากการลุกลามของปัญหากล้ามเนื้อบริเวณบ่าที่ตึง ทำให้เลือดไม่สามารถไหลไปเลี้ยงส่วนหัวได้สะดวก หรืออาจเกิดจากการหดเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณขมับทั้ง 2 ข้าง หรือบางครั้งอาจเกิดจากอาการปวดตาหรือตาแห้ง แล้วร้าวไปถึงหัวได้ บางคนอาจรุนแรงเป็นอาการปวดหัวไมเกรน

8. อาการปวดหลัง เป็นอาการปวดหลังที่เกิดจากท่ายืนหรือท่านั่งไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน หรือมีการใช้กล้ามเนื้อหลังที่รุนแรงเกินไป จนเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ รวมไปถึงอาจส่งผลเสียต่อโครงสร้างการเรียงตัวของ กระดูกสันหลัง เช่น กระดูกหลังคด หมอนรองกระดูกเสื่อม เป็นต้นครับ

ใครเสี่ยงเป็น ออฟฟิศซินโดรม

โดยส่วนมาก อาการออฟฟิศซินโดรมมักจะเกิดขึ้นในคนทำงานที่อยู่ในวัย 30-40 ปี แต่ปัจจุบันการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ไม่ใช่จำกัดแค่พนักงานออฟฟิศหรือคนทำงานทั่วไป คนรุ่นใหม่ต่างต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษาตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้ออฟฟิศซินโดรมเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในวัย 20 ปีหรือน้อยกว่านั้น

รวมถึงผู้สูงอายุที่ปัจจุบันหันมาใช้เทคโนโลยีต่างๆ มากขึ้นเช่นกัน ทำให้กลุ่มเสี่ยงของโรคออฟฟิศซินโดรมจึงไม่ได้จำกัดแค่วัยทำงานอีกต่อไปครับ นอกจากนี้ ยังรวมถึงนักกีฬา และ ผู้ใช้แรงงาน ที่ต้องทำกิจกรรมซ้ำๆ ต่อเนื่องในระยะเวลานาน ในทุกๆ วันอีกด้วยครับ

  1. พนักงานออฟฟิศ แม้ว่าคนกลุ่มนี้ดเหมือนจะแทบไม่ได้เคลื่อนไหวอะไรเลย จนดูเหมือนว่าจะไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อ แต่การนั่ง ยืน หรือค้างอยู่ในท่า ๆ หนึ่งนานเกินไป เช่น การาจับเมาส์ การพิมพ์งาน การนั่งจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ ก็ส่งผลให้กล้ามเนื้อมัดที่ใช้ในอิริยาบถนั้น ๆ บ่อย ๆ เกิดอาการตึงและปวดตามมาได้

  2. ผู้ใช้แรงงานเป็นประจำ หรือกลุ่มนักกีฬา อาการทางกล้ามเนื้อหรือกระดูก มักจะมาจากการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมาะสม เช่น การยกของผิดท่า การกระชากกล้ามเนื้อเร็วเกินไป การออกแรงมากเกินไป หรือต้องแบกของที่มีน้ำหนักมากเกินไป เป็นต้น ทำให้กล้ามเนื้อหรือกระดูกได้รับบาดเจ็บอย่างเฉียบพลันหรือเรื้อรัง

 
 
 

 

Check Lists เราเป็นออฟฟิศ ซินโดรมหรือไม่

checklists เราเป็นออฟฟิศซินโดรม หรือไม่

หมอขอให้ Checklists ง่ายๆเพื่อเป็นแนวทางการในสำรวจตัวเองง่าย ๆ ว่าเราเสี่ยงต่อการเป็นออฟฟิศซินโดรมหรือไม่ ดังนี้ครับ

  1. มีภาระงานต้องทำกิจกรรมหรือทำงานลักษณะเดิม ๆ อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 6 ถึง 8 ชั่วโมงต่อวันหรือไม่ เช่น

    • พนักงานออฟฟิศ ที่ต้องนั่งจ้องจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ไม่ค่อยได้ลุกไปไหน

    • พนักงานขาย พนักงานบริการ ที่ต้องยืนขายตลอดทั้งวัน (โดยเฉพาะพนักงานที่ต้องใส่รองเท้าส้นสูง)

    • พนักงานขับรถ ที่ต้องนั่งขับรถอยู่เป็นเวลานาน ๆ

  2. มีอาการปวด ในช่วงเวลาที่สัมพันธ์กับเวลาทำงาน และอาการดีขึ้นหรือไม่มีอาการในวันที่หยุดพัก

  3. ต้องทำงานในสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม เช่น ออฟฟิศแออัด อากาศไม่ถ่ายเท โต๊ะเก้าอี้ไม่เหมาะกับสรีระ เป็นต้น

  4. มีเวลาพักผ่อนน้อย หรือไม่ได้พักผ่อน

  5. มีความเครียดจากการทำงานสูง หรืออยู่ในสภาพสังคมการทำงานที่เป็นพิษ

  6. ผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ พอรักษาหรือยืดกล้ามเนื้อแล้ว อาการก็ดีขึ้นชั่วคราว แต่สักพักก็กลับมาเป็นอีก มักมีอาการบริเวณกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ ต้นคอ สะบัก ส่วนหลัง

  7. มีอาการปวดร้าวไปยังส่วนต่าง ๆ เช่น ปวดร้าวขึ้นศีรษะ ปวดร้าวไปที่ไหล่หรือแขน ปวดร้าวลงขา สัมพันธ์กับท่าทางของเรา

  8. ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว หรือไม่ค่อยได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

  9. ทำงานในลักษณะที่ต้องใช้แรงเป็นประจำ เช่น งานแบกหาม งานลาก ยก หรือเข็นวัสดุสิ่งของ

  10. นักกีฬา หรือผู้ที่ต้องเล่นกีฬาเป็นประจำ

    โดยใครที่มีความเสี่ยงอย่างน้อย 4 ข้อขึ้นไป ถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการของ “ออฟฟิศซินโดรม “ ครับ หมอแนะนำ ลองปรึกษาคุณหมอ และ นักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ในการขอคำแนะนำ ป้องกันอาการ บำบัดรักษาอย่างถูกวิธี ก่อนสายเกินแก้ ครับ

ความรุนแรงของ ออฟฟิศซินโดรม มีกี่ระดับ

อาการปวดจากออฟฟิศซินโดรม สามารถแบ่งระดับของอาการ ตามระดับความเจ็บ การกระทบต่อสุขภาพ และชีวิติประจำวัน และความเรื้อรังของอาการได้ดังนี้ครับ

ระยะอาการปวดเริ่มต้น ออฟฟิศซินโดรม

อาการปวดเริ่มต้น 

โดยทั่วไปมักจะเริ่มต้นจากอาการปวดเมื่อย ที่มักจะหายได้เอง หลังจาก ยืด เหยียด นวด เปลี่ยนอิริยาบถ

ระยะอาการปวด ออฟฟิศซินโดรม เรื้อรัง ขณะทำงาน

อาการปวดเรื้อรัง เวลาทำงาน

เริ่มมีอาการปวดเมื่อยซ้ำๆ  โดยเฉพาะระหว่างการทำงาน โดยระยะนี้ ออฟฟิศซินโดรม ภถือว่าเริ่มมีความรุนแรงครับ แนะนำว่าต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำ เพื่อป้องกันผลแทรกซ้อนเรื้อรังที่อาจตามมา

ระยะอาการปวด ออฟฟิศซินโดรม เรื้อรัง ขณะพัก

อาการปวดเรื้อรัง ขณะพัก

มีอาการเจ็บปวดบริเวณต่างๆ ของร่างกายเพิ่มมากขึ้น แม้ในขณะพัก เริ่มมีอาการปวดร้าวไปบริเวณอื่น หรือ มีอาการชา ปวดไมเกรน ร่วมด้วย อาการไม่หายไปแม้ทำการ นวด ยืด เหยียด เปลี่ยนอิริยาบถ และอาการปวดส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในประจำวัน อาการเหล่านี้จะต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน 

โดยหมอแนะนำ ถ้าเริ่มมีอาการปวดเรื้อรังขณะทำงาน ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อป้องกันผลเสียพต่อสุขภาพ ร่างกายให้เร็วที่สุดครับ

 
 

 

แนวทางการรักษา ออฟฟิศ ซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม รักษาอย่างไร

ในปัจจุบันนี้ การรักษา ออฟฟิศซินโดรม ให้ได้ผล จะแนะนำให้ทำการรักษาทางกายภาพบำบัด กับนักกายภาพผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับการป้องกัน กำจัดสาเหตุ รวมถึง การออกกำลังกาย ปรับท่าทาง และสร้างความสมดุลของกล้ามเนื้อดังนี้ครับ

 

ลดอาการปวด อาการอักเสบ

โดยหลีกเลี่ยงการใช้งานหรือลดการเคลื่อนไหวของข้อต่อบริเวณนั้นๆ เช่น หัวไหล่ ข้อมือ ข้อศอก การกายภาพบำบัด หรือใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงต่างๆ ในกรณีที่จำเป็น

ลดปัจจัยเสี่ยง

เช่น การทำงานในท่าทางเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน, หลีกเลี่ยงท่าทางในการทำงานที่ไม่ถูกต้อง, จัดโต๊ะทำงานให้สิ่งของที่หยิบใช้บ่อยๆ อยู่ในระยะเอื้อมถึงได้ง่าย ไม่ต้องโน้มตัวหรือเอื้อมมือไปไกล, จัดเวลาการทำงานและการพักผ่อนที่ไม่เหมาะสม 

 
 
 
ปรับท่าทางการทำงาน รักษา ออฟฟิศซินโดรม

ปรับท่าทางในการทำงาน

ด้วยการปรับอุปกรณ์ที่ใช้ ทั้งโต๊ะ เก้าอี้ แสงสว่างบริเวณโต๊ะทำงาน จอคอมพิวเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อให้เหมาะสมกับร่างกายของเรา

ออกกำลังกาย

เป็นหนึ่งในการรักษาที่สำคัญของออฟฟิศซินโดรม เพราะการที่กล้ามเนื้อไม่ยืดหยุ่นและไม่แข็งแรงพอ จะไม่อาจทนทานต่อการใช้งานกล้ามเนื้อที่ต่อเนื่องยาวนาน จนทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมซ้ำๆ ไม่หายขาดเสียที 

 

การออกกำลังกาย รักษาออฟฟิศซินโดรม มีอะไรบ้าง

การออกกำลังกายสำหรับการแก้ไข และป้องกันรักษา ออฟฟิศซินโดรม จะประกอบไปด้วยการออกกำลังกายแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. การออกกำลังกายเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อที่มักจะมีการหดเกร็งจากการใช้งานติดต่อกันอย่างยาวนาน ซึ่งการยืดเหยียดนี้สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่มีช่วงที่ยังมีอาการปวดอยู่  

  2. การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อ เพื่อสร้างความแข็งแรงทนทานให้แก่กล้ามเนื้อมัดนั้นๆ ให้สามารถทำงานได้ต่อเนื่องยาวนานมากขึ้นซึ่งการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงนี้มักจะเริ่มทำเมื่ออาการปวดในระยะเฉียบพลันมีอาการทุเลาลง โดยเริ่มจากการออกกำลังกายแบบเกร็งกล้ามเนื้อ หรือ Isometric strengthening exercise ก่อน เพราะมักไม่ทำให้มีอาการปวดมากขึ้นในช่วงที่ยังมีอาการปวดเฉียบพลันอยู่ หลังจากนั้นจึงค่อยเพิ่มการออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงแบบอื่นต่อไปตามลำดับ

การรักษาออฟฟิศซินโดรม โดยการทำกายภาพบำบัด

สำหรับการรักษา “ ออฟฟิศซินโดรม “ ด้วยการทำกายภาพบำบัด ถือเป็นการรักษาที่สำคัญมากครับ โดยเฉพาะในรายที่เริ่มมีอาการปวดเรื้อรัง โดยการรักษาจะมุ่งเน้นการโฟกัสปัญหาของ กล้ามเนื้อมัดที่มีอาการ หรือ มีปัญหา, การประเมินอาการที่ส่งผลต่อสุขภาพด้านอื่นๆ รวมถึง คุณภาพชีวิต และท้ายที่สุด คือการออกแบบการออกกำลังกาย เพื่อแก้ไข และป้องกัน อย่างเหมาะสมในแต่ละบุคคล โดยการออกแบบโดยนักกายภาพบำบัดครับ. โดยหลักการการรักษาด้วยกายภาพบำบัด สามารถแบ่งการรักษา หรือ ขั้นตอนการรักษาที่สำคัญได้ดังนี้ครับ

  1. การประเมินท่าทาง และการปรับท่าทาง. โดยนักกายภาพบำบัดจะทำการประเมิน ตรวจสอบท่าทางที่ผิดปกติ และออกแบบแก้ไขท่าทางให้ถูกต้อง รวมถึง ออกแบบการออกกำลังกายเพื่อปรับท่าทางให้ถูกต้อง อย่างเหมาะสม

  2. สอนท่าออกกำลังกาย เพื่อความแข็งแรง และความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ. โดยเฉพาะมัดกล้ามเนื้อที่มีอาการอ่อนแรง จากการอยู่ท่าใด ท่าหนึ่งนานๆ รวมไปถึง การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น และ เพื่อองศาการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ครับ

  3. แนะนำการจัดสภาพแวดล้อมการทำงาน ที่เป็นสาเหตุของโรคโดยเฉพาะ ความสูงของโต๊ะ เก้าอี้ ตำแหน่งความสูงของหน้าจอ ตำแหน่งของเม้าส์ และแป้นฟิมพ์ เป็นต้น

  4. รักษาอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง โดยเฉพาะปมพังผืดกล้ามเนื้อ หรือ Trigger point โดยนักกายภาพบำบัดจะเลือกใช้วิธีที่เหมาะสม เช่นการใช้ Shockwave และ คลายความตึงตัวฟื้นฟูกล้ามเนื้อ โดยการใช้ manual technic หรือ การใช้ Ultrasound เพื้่อฟื้นฟูกล่้ามเนื้อ

  5. การจัดการความเครียดของร่างกาย โดยนักกายภาพบำบัด จะแนะนำวิธีการจัดการความเครียด เพื่อป้องกัน และบรรเทาอาการของโรค ออฟฟิศซินโดรม ให้ลดน้อยลงครับ

  6. ให้คำแนะนำ การป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม. โดยเฉพาะการจัดสถานที่การทำงาน การปรับความสูงของโต๊ะทำงาน ความสูงของเก้าอี้ทำงาน ท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง รวมไปถึง ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการนั่งทำงาน และเมื่อไหร่ควรทำการเบรค เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถครับ

ขั้นตอนการทำกายภาพบำบัด มีอะไรบ้าง

มาดูกันครับว่า ขั้นตอนการรักษา ออฟฟิศซินโดรม ที่ The Hourglass Clinic มีอะไรกันบ้าง

 

ซักประวัติอาการ ความเสี่ยง

ซักประวัติอาการที่เป็นว่า มีความรุนแรงระดับไหน สัมพันธ์กับกิจกรรมไหน รวมถึงประวัติการรักษาก่อนหน้า กับคุณหมอ

ตรวจประเมินอาการ

ตรวจประเมิน มัดกล้ามเนื้อที่มีอาการ โดยนักกายภาพบำบัด

 
 

Manual Therapy

ออกกำลังกาย ดัด ยืดกล้ามเนื้อที่มีปัญหา โดยนักกายภาพบำบัด พร้อมสอนวิธีการออกำลังกาย ยืดกล้ามเนื้อที่ถูกต้อง

Shockwave Therapy

สลายพังผืด ปมกล้ามเนื้อที่มีอาการปวดเรื้อรัง ด้วย Shockwave

Ultrasound Therapy

ฟื้นฟูกล้ามเนื้อ หลังการทำ Shockwave ด้วย Ultrasound Therapy

 
 
 

 

เตรียมตัวก่อนทำ กายภาพบำบัด

ก่อนเข้ารับการรักษา แนะนำเตรียมตัวดังนี้ก่อนครับ

  1. จดบันทึกอาการต่างๆ โดยเฉพาะ ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการ ตำแหน่งที่มีอาการ มีอาการปวดร้าวไปบริเวณไหนหรือไม่

  2. จดบันทึกอาการปวด อาการชา ต่างๆ โดยเฉพาะ กิจกกรรมที่ทำให้แย่ลง กิจกรรมที่ทำให้ดีขึ้น

  3. จดบันทึกปัญหาสุขภาพ ที่เคยเป็นมาก่อน รวมถึงประวัติการแพ้ยา

  4. จดบันทึกประบัติการได้รับอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ ที่คิดว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการปวด

  5. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารจนอิ่มก่อนเข้ารับการรักษา แนะนำงดรับประทานอาหารก่อรการรักษา ประมาณ 2-3 ชั่วโมงครับ

  6. สวมใส่เสื้อผ้าที่สบาย ในวันเข้ารับการรักษา

คำถามที่พบบ่อย

  • ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือกลุ่มอาการที่เกิดจากการทำกิจกรรมใด กิจกรรมหนึ่งต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือใช้ท่าทางในการทำงานที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จนทำให้เกิดความผิดปกติของระบบในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบกระดูก เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ หรือดวงตา

    1. ปวด ตึง หรือเมื่อยล้ากล้ามเนื้อเฉพาะส่วน เช่น ต้นคอ บ่า ไหล่ หลัง สะบัก

    2. มีอาการปวดร้าวไปบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วย หรือปวดร้าวลงขาได้

    3. ปวดร้าวขึ้นศีรษะ ตาพร่ามัว หูอื้อ ปวดกระบอกตา

    4. นอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท

    5. มีอาการนิ้วล็อค ( Trigger Finger )

    6. อาการที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับ เช่น เหน็บชา มือชา นิ้วชา แขนชา แขนขาอ่อนแรง

    1. การออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เน้นการออกกำลังกายที่ได้เคลื่อนไหวร่างกายทุกส่วน โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อและเอ็นกล้ามเนื้อที่มักเจ็บปวดได้ง่าย

    2. การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อคลายกล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานระหว่างทำงาน

    3. เปลี่ยนท่าทางระหว่างนั่งทำงาน ทุก 1 ชั่วโมง เพื่อเป็นการพักกล้ามเนื้อ

    4. กายบริหารเบาๆ ด้วยอุปกรณ์ใกล้ตัว เช่นขวดน้ำบนโต๊ะทำงาน ลูกบอลบีบบริหารมือ เป็นต้น

  • แนะนำว่า ถ้าเริ่มมีอาการปวดเรื้อรัง ทั้งขณะเวลาทำงาน พัก หรือ คลายกล้ามเนื้อแล้วไม่หาย หรือมีอาการปวดร้าวลามไปส่วนอื่นร่วมด้วย ควรรีบปรึกษาคุณหมอครับ

    1. ประเมินท่าทาง และการปรับท่าทาง โดยนักกายภาพบำบัด

    2. สอนท่าออกกำลังกาย เพื่อความแข็งแรง และความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ

    3. แนะนำการจัดสภาพแวดล้อมการทำงาน ที่เป็นสาเหตุของโรค

    4. รักษาอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง โดยเฉพาะปมพังผืดกล้ามเนื้อ หรือ Trigger point โดยนักกายภาพบำบัดจะเลือกใช้วิธีที่เหมาะสม เช่นการใช้ Shockwave และ คลายความตึงตัวฟื้นฟูกล้ามเนื้อ โดยการใช้ manual technic หรือ การใช้ Ultrasound เพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อ

    5. การจัดการความเครียดของร่างกาย โดยนักกายภาพบำบัด จะแนะนำวิธีการจัดการความเครียด เพื่อป้องกัน และบรรเทาอาการของโรค ออฟฟิศซินโดรม ให้ลดน้อยลงครับ

    6. ให้คำแนะนำ การป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม

สำหรับใครที่ยังสงสัย หรือ ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็น ออฟฟิศซินโดรม หรือไม่ หรือต้องการคำปรึกษาถึงการรักษาสามารถส่งคำถามได้ ที่นี่ เลยครับ

 
 
 

 

จองคิวปรึกษาคุณหมอ

DISCOVER YOUR ELEGANCE

ค้นพบความสง่างามในตัวคุณ จองคิวเพื่อพบคุณหมอของเราตอนนี้ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

สาขาบางนา โทร 0928576683

สาขาทองหล่อ โทร 0989767698

 
 

 

คุณหมอแนะนำให้อ่าน

Gouri คืออะไร ดีอย่างไร

> อ่านเพิ่มเติม

ร้อยไหม ปรับรูปหน้า คืออะไร

> อ่านเพิ่มเติม

ยกกระชับไม่ง้อเข็ม ด้วย HIFU

> อ่านเพิ่มเติม